สถิติ
เปิดเมื่อ9/04/2015
อัพเดท12/07/2015
ผู้เข้าชม27886
แสดงหน้า31194
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




Baby-led Breastfeeding

อ่าน 311 | ตอบ 0
“Baby-led Breastfeeding”:
                                            Neurobehavioral model for understanding how infant learn to feed
26 พค 54  9.30-10.30 น.  โดย  Dr. Chritina Smillie MD, FAAP,IBCLC,FABM
เก็บความโดย พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
Take home messages:
               1.หลังคลอดใหม่ในชั่วโมงแรกๆ ทารกแรกเกิดมีความสามารถที่จะคลานไปบนอกแม่ เพื่อหาเต้านมและเริ่มต้นดูดนมแม่   ความสามารถนี้ไม่ได้มีเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเท่านั้น แต่จะคงอยู่ได้นานหลายเดือน จนถึงเป็นปี
            2. การที่ทารกคลานหาเต้านมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด( innate) หากไม่มีการรบกวนความสัมพันธ์แม่-ลูกในช่วงนี้ จะทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ดี
            3.สมองซีกซ้าย เกี่ยวข้องกับความเป็นเหตุเป็นผล ส่วนสมองซีกขวาเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก
แม่ที่ใช้สมองซีกซ้ายเป็นส่วนใหญ่ อาจมีการรบกวนกับการใช้สมองซีกขวาเมื่อจะเริ่มต้นให้นมแม่
                             การให้นมแม่เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทั้งระบบประสาท และ ชีววิทยา ( Neurobiology)
ของทั้งแม่และลูก  แต่เดิมการสอน breastfeeding แก่แม่มักจะเป็นการจับมือแม่สอน  อุ้มลูกมาแล้วให้ดูดนมแม่เลยตามความต้องการของแม่ ( และผู้สอน) โดยไม่ได้สนใจว่าขณะนั้นลูกพร้อมที่จะดูดนมแม่หรือยัง ทำแบบ “RAM” คือ  Ready- (แม่) พร้อม  Aim- (อุ้มลูก)พุ่งใส่เป้าคือเต้านม Ram – เอาเข้าเต้าทันที  ผลคือลูกร้องไม่ยอมดูดนมแม่
                             การบังคับทำให้เกิด sucking dysfunction  =  ไม่ดูดนมแม่  แม่จะรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว และถ้าทำแบบเดิมต่อไปอีก ลูกก็ยังไม่เอาเต้า จนในที่สุดแม่ยอมแพ้ เลิกให้นมแม่ไป  น่าจะมีวิธีอื่นที่จะให้นมแม่โดยการนำ  ยินยอมพร้อมใจของลูก และลูกงับเต้าเอง  (self-attachment    or   baby-led breastfeeding)
                                            ทารกในช่วง  24 ชั่วโมงแรกเป็นช่วงที่เปราะบางมาก ถ้ามีการรบกวนขบวนการที่ทารกจะเริ่มดูดนมแม่แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาได้    การที่แม่ลูกได้พบกันในช่วงแรก ไม่ได้ต้องการให้ทารกได้อาหารแต่อย่างใด แต่การที่ผิวแม่ลูกได้สัมผัสกัน(skin to skin)เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในช่วงนี้    
                                            จากวิดีโอจะเห็นว่าทารกที่วางอยู่บนทรวงอกแม่ สามาถขยับขาคืบคลานขึ้นไปหาเต้านมแม่ได้ทีละน้อย ค่อยๆไปโดยแม่เพียงแต่เฝ้าดู ทำตามสัญชาติญาณ ไม่ไปรบกวนลูก จนเมื่อถึงเต้านมลูกอ้าปากงับและดูดนมได้   ตัวอย่างที่ Dr. Christina ยกมาให้ดู มีทั้งทารกที่คลอดโดยการผ่าคลอด เอามาวางบนอกแม่หลังคลอด 10 ชั่วโมง , ทารกที่เป็นฝาแฝดคลอดก่อนกำหนด ที่ 32 สัปดาห์ อายุ  48 ชั่วโมง น้ำหนักแรกเกิด 1580 กรัม
                                            นอกจากนี้ยังมี  co-bathing –ให้แม่ลูกอยู่ในอ่างน้ำด้วยกัน ให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย  คล้ายๆกับเป็นการ re-birthing ,   Laid  back  Breastfeeding- ให้แม่นั่งเอนๆตัวตามสบาย ค่อยๆให้ลูกสงบอยู่บนอก และเรียนรู้ที่จะเริ่มดูดจากเต้าเอง  ไม่ต้องสอนมาก
ทำไมทารกจึงทำเช่นนี้ได้?
                                            อธิบายได้ว่า แม่ลูกเป็น “ single biological system”  คือ แม่ลูกอยู่ในระบบเดียวกัน แยกกันไม่ออก  เป็นมนุษย์ 2  คนที่แทบจะเป็นคนๆเดียวกัน มีการสื่อสารระหว่างกันด้วยสายตา  ผิวหนังที่สัมผัสกัน พฤติกรรมและอารมณ์ของแม่ส่งผลถึงพฤติกรรม และอารมณ์ของลูก   มีการโต้ตอบกัน ( interaction)โดยทาง Bio-behavior  คือมีทั้งระบบประสาท และฮอร์โมนทำงานประสานกัน   แม่ลูกมีการสื่อสาร- อ่านใจซึ่งกันและกัน  ( ขอใช้คำภาษาไทยว่าเป็น  “ แม่ลูกคู่ขวัญ” เพราะต่างก็เป็นขวัญกำลังใจซึ่งกันและกัน)
Reflex of newborn baby :  ทารกแรกเกิดมี reflex หลายอย่างที่ช่วยการเริ่มดูดนมแม่
                                            Stepping reflex:  ทารกยกเท้าทำท่าก้าวเดินได้  เพื่อพร้อมที่จะคลานไปบนอกแม่
                                            Neck stabilizing reflex  : การศึกษาพฤติกรรมของทารกอายุ  17 วันรายหนึ่งโดย กุมารแพทย์ด้านระบบประสาท พบว่า  การที่แม่ลูกมีการสบตากัน มองหน้ากัน (มี socialization ) ทำให้ทารกสามารถใช้กล้ามเนื้อคอยกหัวขึ้นได้โดยแม่ไม่ต้องจับ     สิ่งนี้เป็นธรรมชาติที่แม่ลูกจะพูดคุยกันอยู่แล้ว โดยเริ่มต้นแม่เอามือประคองคอลูกขึ้นมาให้ ตาลูกอยู่ระดับเดียวกับตาแม่ สบตากัน ทำเสียงคุยกันอยู่นาน  5-6 นาที  เมื่อลูกกำลังเพลินอยู่กับกิจกรรมนี้ คอของลูกจะตั้งตรงได้เองโดยไม่ต้องใช้มือแม่มาประคองอีกต่อไป    เรียกว่า ทารกอยู่ในช่วงสงบที่ลึกกว่า  Quiet alert state คือเป็น communication state  มีการสื่อสารกันได้
                                                                                                                                                                                   
                             Dr. Marshall Klaus เป็นกุมารแพทย์คนแรกๆที่วิจัยและเขียนถึงความผูกพันระหว่างแม่ลูก
( Bonding)       ทารกอยู่แต่เพียงลำพังคนเดียวไม่ได้  ต้องมีใครบางคนที่จะอยู่ด้วยกัน  คอยประคับประคองให้ทารกรู้สึกสงบมั่นคง ทั้งทางร่างกาย และอารมณ์  ( Calm and secure  emotionally and physically)
Feeding cues
                             1.Internal feeding cues : น้ำตาลในเลือดลดต่ำ , serum osmolality เพิ่มขึ้น
                             2. External feeding cues:  แม่อุ้ม  กลิ่น และสัมผัสจากแม่
แม่มีfeeding behavior จาก  oxytocin reflex               
Mammalian feeding sequences :  ขบวนการให้อาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะคล้ายๆกัน คือ ต้องมีการกระตุ้นทางสัมผัส( Tactile stimulus)  ดังนั้น การห่อตัวลูกจนขยับแขนขาไม่ได้เป็นการลิดรอนอิสรภาพ และรบกวนการให้นมแม่                                     
                                      Tactile stimulus                                      cascades of behavior
                                            ท้อง  หน้าอก                                                     หา  ก้าว  คลาน
                                            แก้ม                                                                  Rooting
                                            คาง                                                                   เปิดปาก   เข้าหา และ งับ
                                            Oral mucosa , palate                                   suckle
 
 
                           Baby-led breastfeeding :       มองภาพรวมทั้งแม่และลูกสบายตัว ไม่เคร่งเครียด
  1.  Calm baby     ลูกสงบ ผ่อนคลายสบายๆ
  2. ลูกเริ่มหาเต้าเอง และเป็นผู้เริ่ม breastfeeding
  3. แม่เป็นผู้ตามการเริ่มของลูก
  4.  Chin to breast   คางสัมผัสเต้าแม่ อย่าไปขัดขวางหรือบังคับลูก
  5.  ลูกพบ และงับเต้าเอง
          ถ้าแม่รู้สึกเจ็บหัวนม หรือ discomfort  ไม่ได้แปลว่างับผิด  แต่เป็นสัญญาณนำให้เรารู้ว่าควรมีการปรับเปลี่ยนท่า โดยการเอนตัวบ้าง หรือให้แม่ขยับเขย่าจนกว่าจะได้ท่าที่สบาย   ถ้าแม่ผ่อนคลาย ลูกก็จะผ่อนคลายด้วย
              
               เมื่อลูกดูดนมแม่ได้สำเร็จแล้วครั้งหนึ่ง ครั้งต่อๆไปก็จะง่ายขึ้น
-

 
 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :