สถิติ
เปิดเมื่อ9/04/2015
อัพเดท12/07/2015
ผู้เข้าชม27512
แสดงหน้า30818
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ลูกร้องไม่ใช่หิวเสมอไป

อ่าน 795 | ตอบ 0
ลูกร้องไม่ใช่หิวเสมอไป
พญ.  ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
               สิ่งที่คุณแม่คนใหม่มักจะเป็นกังวล  คือ จะมีน้ำนมพอสำหรับลูกหรือไม่  และเมื่อลูกร้องก็มักคิดไปว่า ลูกหิว เพราะน้ำนมแม่ไม่พอหรือเปล่า
               ลูกร้องไม่ได้หมายความว่าหิวเสมอไป ในช่วงวันแรกๆลูกต้องการความใกล้ชิดอบอุ่นจากอกแม่ มากกว่าต้องการอาหาร  เพราะทารกแรกเกิดมีไขมันสะสมอยู่ใต้ผิวหนังอยู่มากพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หลายวัน   การร้องไห้ของลูกจึงเป็นการร้องเรียกหาสัมผัสจากแม่    สังเกตว่าถ้าหากลูกได้อยู่แนบชิดกับแม่ตลอดเวลา ลูกจะไม่ค่อยร้อง
               อยากจะให้คุณแม่ลองนึกว่าเราเป็นทารกเล็กๆที่นอนขดอยู่ในท้องแม่อย่างอบอุ่นสบายเป็นเวลา  9 เดือน  มีมดลูกบรรจุด้วยน้ำคร่ำห่อหุ้มให้ความรู้สึกปลอดภัย  ยังไม่ต้องหายใจเอง และไม่ต้องกินอาหารเอง เพราะ อ๊อกซิเจนและสารอาหารต่างๆผ่านมาทางรก   ดังนั้น เมื่อแรกที่ลูกพ้นจากที่อยู่อันอบอุ่นปลอดภัยสู่โลกอีกใบที่เขาไม่คุ้นเคย จึงเป็นธรรมดาที่ลูกจะต้องร้อง ต้องไขว่คว้าหาสิ่งที่คุ้นเคย  ณ เวลานี้ล่ะค่ะ คือเวลาที่ลูกต้องการอ้อมอกอุ่นของแม่มากที่สุด 
               ให้ลูกได้กลิ้งเกลือกอยู่บนตัวแม่ ตั้งแต่หลังคลอดใหม่ๆ          ลูกจะได้เริ่มใช้สัญชาตญาณที่มีติดตัวมา เพื่อความอยู่รอดของตัวเขาเอง   ลูกมีความสามารถมากกว่าที่เราคิดค่ะ  ทารกแรกเกิดมีสัญชาตญาณที่จะขยับขาทำท่าคล้ายการก้าวเดิน เพื่อค่อยๆคืบคลานขึ้นไปหาแหล่งอาหาร คือเต้านมแม่ โดยมีลานนมที่มีสีคล้ำเป็นจุดหมาย  แม่คอยช่วยประคองเพียงเล็กน้อย  เมื่อแก้มของลูกสัมผัสกับเต้านม เป็นการกระตุ้นสัญชาตญาณอีกอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ลูกอ้าปากกว้างไซ้หา  ไปจนถึงลานนม   ลานนมที่สัมผ้สริมฝีปากลูก กระตุ้นให้ลูกอ้าปากงับลานนมเข้าไปในปาก และ เริ่มดูดนมแม่ได้ทันที
               นี่คือความสามารถของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ด้วย  ความสามารถที่จะไขว่ คว้า คลาน ขยับ ไปจนถึงอกแม่
               บนอกแม่นี้  ลูกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้นอย่างที่เคยได้ยินมาตลอด  9 เดือน  
               บนอกแม่นี้ ลูกจะได้กลิ่นน้ำคร่ำที่เคยห่มคลุม  ได้สัมผัสกับไออุ่นจากผิวของแม่
               บนอกแม่นี้ ลูกจะเริ่มได้รับความรักผ่านทางอ้อมกอด และน้ำนมอุ่น
               การเริ่มต้นที่สวยงามเช่นนี้ คือ การเริ่มต้นความสัมพันธ์แม่ลูกที่จะคงอยู่ต่อไปอย่างยาวนาน
               สมองของแม่ต้องเปิดรับรู้ความรู้สึกของลูก เข้าใจว่าลูกว้าเหว่ ต้องการสัมผัสที่มั่นคงแต่อ่อนโยน  ส่งผ่านความรักทั้งหมดไปยังลูกด้วยการลูบไล้ผิวลูก  ดื่มด่ำไปกับเนื้อตัวนุ่มนิ่มแบบบางของลูก สมานใจให้เป็นหนึ่งเดียว 
               ใจที่เป็นหนึ่งเดียวทำให้เราคิดและรู้สึกในมุมมองของลูก  อย่าเอาความรู้สึกของเราเป็นใหญ่  ผ่อนจังหวะชีวิตให้ช้าลง ณ ขณะนี้มีเพียงเราและลูกน้อย 
               ลูกไม่รู้หรอกว่าน้ำนมแม่ในเต้ามีมากน้อยแค่ไหน รู้แต่ว่าธรรมชาติสร้างให้ฉันอ้าปากดูดนมจากเต้า ฉันก็จะทำหน้าที่ดูดไปเรื่อยแหละ  ฉะนั้น  เราก็ไม่ต้องรู้ว่ามีน้ำนมมากน้อยแค่ไหน ลูกอ้าปากดูดเต้า เราก็ให้ดูดไป     ดูดๆๆไปสักพักลูกก็หยุด   แป๊บๆกลับมาดูดใหม่อีกแล้ว  ก็เป็นธรรมชาติของลูกค่ะที่เป็นแบบนี้  ไม่ต้องแปลความหมายใดๆทั้งสิ้น  ในช่วงแรกๆนี้ลูกจะดูดนมแม่กันแทบจะทั้งวันทั้งคืน เพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มากขึ้นๆเรื่อยๆ   ยิ่งดูดมาก ดูดบ่อย และดูดโดยหัวนมแม่ไม่เจ็บ ยิ่งทำให้น้ำนมผลิตออกมามากขึ้น
               ลูกไม่รู้หรอกว่าตอนนี้เวลาผ่านไปแล้วกี่นาที กี่ชั่วโมง เราก็ไม่จำเป็นต้องรู้เช่นกันค่ะ นาฬิกาชีวิตในตัวลูกจะเป็นตัวบอกเองว่าเมื่อไรจะกิน เมื่อไรจะนอน   แม่ต้องทำตามนาฬิกาชีวิตของลูก ไม่ใช่ทำตามนาฬิกาที่อยู่บนข้างฝา หมุนนาฬิกาชีวิตของเราให้ตรงกับของลูกเสียตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้อะไรต่ออะไรง่ายขึ้นเยอะ
 

               
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :