สถิติ
เปิดเมื่อ9/04/2015
อัพเดท12/07/2015
ผู้เข้าชม34749
แสดงหน้า38064
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




นมแม่คือหลักชัย ปกป้องโรคภัยตลอดชีวิต

อ่าน 689 | ตอบ 0
Breastfeeding : A Winning Goal – For Life! 

“นมแม่ คือหลักชัย ปกป้องโรคภัยตลอดชีวิต” 
     คือ      คำขวัญสัปดาห์นมแม่โลกประจำปี  2014      เพื่อย้ำเตือนว่า   การให้นมแม่เป็นการเริ่มปักหลักชัยให้กับชีวิตลูกตั้งแต่แรกเกิด  มุ่งสู่การป้องกันโรคภัยและมีชัยชนะตลอดชีวิต

ชัยชนะขั้นแรก คือ แม่ชนะใจตนเอง  แม่เรียนรู้ที่จะให้ความต้องการของลูกมาก่อนความต้องการของตนเอง และตอบสนองให้ถูกกาลเทศะ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก และนำไปสู่ความสำเร็จในการให้นมแม่


ขั้นต่อไปคือ ชัยชนะของลูกในการเริ่มชีวิตใหม่  ลูกพร้อมที่จะคลานไปบนอกแม่ เพื่อหาเต้านม   เมื่อลูกพบหัวนมก็จะอ้าปากงับและดูดอย่างมีความสุข ลูกได้เรียนรู้แล้วว่าเต้านี้คือแหล่งอาหารและความอบอุ่น ลูกจะฝึกการดูดอย่างขยันขันแข็ง ลูกค่อยๆเรียนรู้ว่า หากมีความพยายาม ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จ 

ชัยชนะต่อไปคือ ชนะโรคภัย เพราะนมแม่มีสารภูมิต้านทานเฉพาะเจาะจงสำหรับเชื้อที่แม่เคยได้รับมาก่อน ลูกที่กินนมแม่จึงได้สารภูมิต้านทานนั้นๆ และเซลล์ที่มีชีวิตเข้าไปด้วย ทำให้ป่วยน้อยลง
 
ในน้ำนมแม่มีของดีๆอยู่มากมาย ทั้งนี้เพราะน้ำนมแม่ผ่านการคัดสรรปรับแต่งโดยธรรมชาติมาเป็นเวลานับพันๆปีควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษย์เรา ส่วนประกอบต่างๆที่เข้ามาอยู่รวมกันต่างก็เสริมซึ่งกันและกันให้เป็นประโยชน์ต่อทารกมากที่สุด    น้ำนมแม่จะมีทั้งเซลล์ สารภูมิคุ้มกัน เอนไซม์ กลัยแคน ไซโตไคน์ และ growth factors ที่ต่างก็ประสานการทำงานและรวมพลังกันเพื่อปกป้องทารกจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเลียนแบบการป้องกันเชื้อโรคในน้ำนมแม่ โดยการเพียงแต่เติมสารตัวใดตัวหนึ่งลงในนมผง “ของดีที่ป้องกันการติดเชื้อโรคมีเฉพาะในน้ำนมแม่เท่านั้น!”   พบว่า ทารกที่กินนมแม่เป็นโรคท้องเสีย ทางเดินหายใจอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบน้อยกว่าทารกที่ไม่ได้นมแม่ นอกจากนี้ ยังพบว่าทารกที่กินนมแม่ยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ถึงร้อยละ 24
 


               ครอบครัวนมแม่ ชนะภัยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่ต้องเสียเงินซื้อนมผงสำเร็จรูป และลูกแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วย ไม่ต้องเทียวหาหมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ถ้าครอบครัวสามารถเก็บออมเงินส่วนที่ประหยัดนี้ไว้ได้ ก็จะมีทุนเพื่อการศึกษาของลูกเตรียมไว้พร้อมสรรพสำหรับอนาคต

               สถานที่ทำงานที่ส่งเสริมการให้นมแม่ ชนะใจแม่ให้นม การทำงานจึงมีประสิทธิภาพ แม่ไม่ต้องลางานไปดูลูกที่ป่วย 

               ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ชัยชนะสำหรับสังคมโลกส่วนรวม โลกชนะเพราะ การให้นมแม่ประหยัดทรัพยากรของโลก ประหยัดการใช้พลังงาน ลดโลกร้อน 

การให้นมแม่ช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้น เพราะ เราไม่เบียดเบียนธรรมชาติ เรามีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เชื่อมต่อสายใยผูกพันรักระหว่างแม่ลูก แผ่ขยายออกไปสู่คนในครอบครัว และคนในสังคมรอบตัว ในที่สุด ความเป็นตัวตนของแต่ละคนจะค่อยๆมาหลอมรวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ร่วม คือ 
”สังคมนมแม่” สังคมที่ประสานและรวมพลังช่วยกันให้นมแม่กลายเป็นทรัพยากรของแม่ทุกๆคนได้ในที่สุด
 
 
 
การให้นมแม่เป็นสิทธิ์ของทั้งแม่และลูก ในฐานะที่ทั้งคู่เป็น“แม่ลูกคู่ขวัญ” กันมาตั้งแต่ลูกลืมตาขึ้นดูโลก  สิทธิ์ของ “แม่ “ จะต้องไม่ไปขัดขวาง สิทธิ์ของลูก และในทำนองเดียวกัน สิทธิ์ของลูกก็ต้องไม่ขัดขวางสิทธิ์ของแม่  สิทธิ์ของทั้งคู่ต้องไม่ขัดแย้งกันเอง
          “  สิทธิ์ในการให้นมแม่”  จึงเป็นทั้งสิทธิสตรี และสิทธิเด็กควบคู่กันไป แม่และเด็กมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ เอื้อ และเกื้อหนุน ต่อการที่แม่จะให้นมแม่แก่ลูกของตน  ทั้งนี้แม่ต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และนมผสม ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการให้นม  และเมื่อแม่เลือกแล้ว สังคมรอบตัวก็ต้องพร้อมที่จะสนับสนุนไม่ว่าแม่จะเลือกเลี้ยงด้วยวิธีใด
               จุดนี้ คือ เหตุผลว่าทำไมจึงต้องมี กฎหมายว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
 ( International Code of Marketing of Breast milk substitutes) หรือที่เรียกสั้นๆว่า “Code นม” 
               Code นม ไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะห้ามการใช้ หรือ ขายนมผงดัดแปลงสำหรับทารกและเด็กเล็ก
               แต่มีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้สังคมมั่นใจว่า มีการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อที่ พ่อแม่จะไม่ถูกชักจูงให้เข้าใจเรื่องการให้นมแม่อย่างผิดๆ โดยการตลาด และการโฆษณานมผง  พ่อแม่ต้องตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลที่ได้รับมาทั้งสองด้านอย่างละเอียด และเมื่อตัดสินใจอย่างไรแล้ว สังคมรอบตัวจะสนับสนุนคู่แม่ลูกอย่างดีที่สุด
  
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :