สถิติ
เปิดเมื่อ9/04/2015
อัพเดท12/07/2015
ผู้เข้าชม27877
แสดงหน้า31185
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




การทำงานของสมองซีกขวากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อ่าน 483 | ตอบ 0
Baby-led Breastfeeding :“ Right  brain thinking”
                                           การทำงานของสมองซีกขวา กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Dr. Christina Smillie   26 พค 54  10.30-12.00
เก็บความโดย พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
Take home messages
1.ฮอร์โมน oxytocin มีผลต่อทั้งแม่และลูก ช่วยการสื่อสารระหว่างกัน
2.สัญชาติญาณของแม่ช่วยให้ลูกปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว
3.Oxytocin มีผลทั้งในระยะสั้นและยาวต่อการรับรู้ข้อมูลของแม่  ช่วยให้แม่เข้าใจข้อมูลที่เราสื่อสารให้
                             จากการวิจัยของสถาบัน Karolinska ประเทศสวีเดน  เรื่อง ผลoxytocin ต่อ แม่และลูกพบว่าoxytocin มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทเคมี (Neurochemistry)  คือ เป็นทั้ง neurotransmitter และ peripheral hormone  และส่งผลต่อพฤติกรรมไปจนถึงบุคลิกภาพ
                             เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  oxytocin เป็นฮอร์โมนแห่งความรัก  การคลอด และการให้นมแม่ ( Love, Labour, Lactation)  เพราะ ทำให้แม่อยากโอบกอดลูก  มดลูกหดตัว และมีการหลั่งน้ำนม ( milk ejection reflex) แต่อีกบทบาทหนึ่งที่ยังไม่ค่อยมีการกล่าวถึงกัน คือ บทบาทที่ช่วยการให้นมแม่ และทำให้ทารกปรับตัวมีชีวิตรอดได้

สิ่งที่กระตุ้น oxytocin ในแม่:  ผิวสัมผัสผิว    การดูดนมแม่  เป็นลักษณะ neuro-sensory   oxytocin ทำให้แม่มีพฤติกรรมของความเป็นแม่ ( maternal behavior)  และทำให้แม่รู้สึกหิวน้ำ (จากผลของ vasopressin)

ลูกได้รับ oxytocin จากระบบ neuro-sensory เช่นกัน  โดยมี ความอบอุ่นและการสัมผัสผิวหนังเป็นตัวกระตุ้น  นอกจากนี้การกระตุ้นเยื่อบุในปาก และเพดานปากของลูกก็กระตุ้น oxytocin ในลูกเช่นกัน
               -Oxytocin ที่เข้าสู่ลูก กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนจากทางเดินอาหารของลูกด้วย คือ CCK (Cholecystokinin) ทำให้มีการเคลื่อนย้ายสารอาหาร (mobilize nutrients) และช่วยการย่อย
                               -ผลทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตต่ำลง
                              - เป็นฮอร์โมนต่อต้านความเครียด และทำให้เกิดความผูกพันและความรัก(affliliation and affection)
 
                             ผลจากการวิจัยพบว่า  แม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่และมีระดับ oxytocinสูง จะใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้น เอามือลูบตัวลูกมากกว่า  ให้ลูกกินนมแม่  และทนต่อความเบื่อหน่ายได้ดีกว่า ผลของฮอร์โมน oxytocin ทำให้แม่มีความสุขกับการให้นมแม่โดยไม่เบื่อ และ ทำให้เกิดสัญชาติญาณข­องความเป็นแม่
               Dr. Christina ยกตัวอย่าง ว่า ในครอบครัวหนึ่งที่ยายไม่เคยให้นมแม่มาก่อน จึงจดจำได้ว่าการอุ้มลูกกินนมจากขวดนั้นน่าเบื่อมาก (ไม่มีฮอร์โมน oxytocin มาช่วย) เมื่อลูกของตนมีลูกและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างประสบความสำเร็จ  ยายนึกถึงความรู้สึกของตัวเองว่าการป้อนนม(ขวด) ให้ลูกนั้นน่าเบื่อเพียงไร ก็คิดว่าลูกสาวน่าจะรู้สึกเบื่อเช่นเดียวกัน จึงอยากจะช่วยอุ้มหลานมากินนมจากขวดแบ่งเบาภาระแม่บ้าง  ส่วนแม่ก็ไม่อยากให้ใครมายุ่งเพราะ ปรับตัวให้ลูกกินนมแม่ได้ดีอยู่แล้ว  จึงอาจเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันในครอบครัวเกิดขึ้นได้
สมอง 2 ซีก ซ้ายและขวา  มีส่วนเชื่อมโยงกันตรงกลางเรียกว่า corpus collosum
               คนเราจะใช้สมองทั้งสองซีกทำงานประสานกัน บทบาทของสมองแต่ละซีกสรุปได้ดังนี้
                    สมองซีกซ้าย                                                       สมองซีกขวา
        ความเป็นเหตุเป็นผล (logical)                                                อารมณ์ความรู้สึก
       ดูรายละเอียดปลีกย่อย                                                            ดูภาพรวม (Holistic)
       ภาษาพูด                                                                               ภาษากาย
       มีความเป็นขั้นตอน (sequential)                                        ความคิดที่จุดประกาย(intuitive) 
                                                                                     gut feeling
        ออกคำสั่ง                                                                                สาธิต  แสดงให้ดู
                                ในช่วงหลังคลอด ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน oxytocin จะทำให้สมองซีกขวาทำงานเด่นขึ้นมา มีอารมณ์ความรู้สึกที่อ่อนไหว การทำงานของสมองซีกซ้ายจะลดลง  ในกลุ่มแม่ที่เคยทำงานโดยใช้สมองซีกซ้ายมากมาก่อนคลอด( เช่น แพทย์ นักบัญชี ทนายความ) จะเคยชินกับความถูกต้องเป็นขั้นตอนอธิบายได้ เป็นเหตุเป็นผล           เมื่อความรู้สึกขึ้นมามีบทบาทนำ จึงทำให้แม่กลุ่มนี้อาจจะมีความสับสนในช่วงหลังคลอด เพราะอยู่ๆจะจำอะไรที่เพิ่งจะรับฟังมาไม่ได้    เรียกว่า มีความพร่องทางการรับรู้ชั่วคราว (  cognitive deficit or left brain deficit)   แม่กลุ่มนี้จึงมีความรู้สึกไม่มั่นคง (insecure) จึงอาจจะชดเชยด้วยการจดทุกอย่างอย่างละเอียด เช่นเวลาที่ลูกกินนม จำนวนชั่วโมงที่ลูกนอน   
                             การใช้คำพูดและการปฏิบัติกับแม่ช่วงหลังคลอดนี้จึงต้องมีความระมัดระวังอย่างมากให้เป็นไปทางบวกมากกว่าลบ เพราะ  อารมณ์ความรู้สึกจะทำให้จำคำพูดหรือ ภาษากาย นั้นไปนาน   

“Affective synchrony”     Allan schore ได้อธิบายว่า   คือ การที่อารมณ์ความรู้สึกมีการส่งผ่านถึงกันได้ระหว่างแม่กับลูก  มีความสอดคล้องกันไปในทำนองเดียวกัน  เหมือนมีการสื่อสารโดยตรงระหว่างสมองซีกขวาของแม่ไปยังสมองซีกขวาข­องลูก
               ระบบการปรับตัวของลูกที่ยังไม่เจริญพัฒนาเต็มที่ จะได้รับการช่วยเหลือให้ปรับตัวได้ดีขึ้นโดยระบบของแม่ที่พัฒนาดีแล้ว  จึงทำให้ทารก                                  –เรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้
                               -ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
                               -จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้
  • -วางระบบเชื่อมต่อในสมอง (lay down brain pathways)
 
          การสื่อสารระหว่างกันเช่นนี้เป็นไปตามธรรมชาติ เราไม่ต้องสอนแม่ เพราะ แม่ลูกติดต่อกันเช่นนี้มานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณที่แม่ลูกได้อยู่ด้วยกันตลอดช่วงหลังคลอด    การแยกแม่ลูกออกจากกันจะทำลาย affective synchrony นี้  แต่ถึงแม้แม่ลูกจะแยกจากกันช่วงสั้นๆ ก็ไม่มีผลเสียมาก เพราะ ทารกจะเรียนรู้การปรับตัวลดความเครียด  โดยการปลอบตัวเองได้ในอนาคต
                 แม่ลูกหลังคลอดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
                 ผูกพันกันโดยมีการให้นมแม่เป็นตัวประสาน
                 ส่งผ่านอารมณ์ ความรัก ความอาทรซึ่งกันและกัน
                 แม่ลูกมีการสื่อสารกัน   คุยกันโดยใช้เสียงสูงๆต่ำๆ อ่อนโยน
               ไม่จำเป็นต้องเป็นคำที่มีความหมาย

                 ใช้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล จึงจะมีความสุขและชื่นชมยินดีได้
 
        
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :