Breastfeeding Update : Anatomy of the breast
พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
เต้านมเป็นอวัยวะเดียวของผู้หญิงที่ยังไม่เจริญพัฒนาดีในช่วงแรกเกิด ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของขนาด รูปร่าง และหน้าที่การทำงานตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึงช่วงตั้งครรภ์และ ช่วงให้นมแม่ เต้านมจะผ่านการเจริญพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ
- ช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดา ( Embryonic development)
- ช่วงอายุ 2 ปีแรกถึงก่อนวัยสาว(Prepubertal development)
- ช่วงเข้าวัยสาว (Pubertal development)
Embryonic development
ทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 4 เริ่มมี milk streak สัปดาห์ที่ 5 กลายเป็น milk line or ridge
ต่อมน้ำนม (mammary gland) จะเริ่มพัฒนาในสัปดาห์ที่ 6 และเพิ่มขยายจนมีท่อน้ำนมเมื่อถึงเวลาคลอด
ต่อมน้ำนมพัฒนาขึ้นจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) ที่เจริญยื่นเข้าไปในเนื้อเยื่อชั้นกลาง(mesoderm)ที่อยู่ข้างใต้ แรกเริ่มจะเห็น ectoderm นูนหนาขึ้นก่อน ต่อมาส่วนหนาจะค่อยๆยุบลงไปข้างใต้ mesoderm จนผิวด้านบนจะเรียบและในที่สุดจะบุ๋มลงไปต่ำกว่าระดับผิวที่อยู่รอบๆ
ส่วนectoderm ที่ยื่นเข้าไป จะกลายเป็นถุงรูปลูกแพร์ และเจริญออกไปรอบๆกลายเป็นท่อน้ำนมในอนาคต เมื่อทารกในครรภ์อายุ 16 สัปดาห์ มีการแตกแขนงออกไป 15-25แขนง มีกล้ามเนื้อเรียบของหัวนมและลานนมพัฒนาขึ้น จนถึงจุดนี้ การพัฒนายังไม่ขึ้นกับการกระตุ้นของฮอร์โมนใดๆ เมื่อถึงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ sex hormone จากรกจะเริ่มเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้เริ่มเกิดรูกลวงและท่อ( canalization ) ช่องว่างที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น lactiferous ducts และแขนงของมัน lactiferous ducts จะเปิดเข้าสู่หลุมตื้นๆ ที่เรียกว่า “mammary pit” ต่อมาเนื้อเยื่อชั้นกลางที่อยู่ใต้หลุมนี้เพิ่มจำนวนขึ้นเกิดเป็น หัวนมและลานนมดันให้ mammary pit นี้ให้ยื่นนูนขึ้นมา
หัวนมบุ๋ม ( inverted nipple) เกิดจากหลุมนี้ไม่ถูกยกขึ้นในช่วงนี้ของพัฒนาการ
Figure 2-1 Evolution of nipple.
A, Thickening of epidermis with formation of primary bud.
B, Growth of bud into mesenchyma.
C, Formation of solid secondary buds.
D, Formation of mammary pit and vacuolation of buds to form epithelial-lined ducts.
E, Lactiferous ducts proliferate. Areola is formed. Nipple is inverted initially.
(Modified from Weatherly-White RCA: Plastic Surgery of the Female Breast. Hagerstown, Md, 1980, Harper & Row.)
เมื่ออายุ 32 สัปดาห์ เริ่มมี primary milk duct และหลังจากนี้จะมีรูในระบบแขนงที่แตกย่อยทุกแขนง เส้นเลือดของต่อมน้ำนมพัฒนาขึ้นมาสมบูรณ์ และเริ่มมี ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ รูขุมขน รวมทั้ง Montgomery gland พัฒนาอยู่รอบๆ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในช่วง 32-40 สัปดาห์ และเรียกว่า
“ end-vesicle stage”
Prepubertal development
ในช่วงหลังคลอดทันที เต้านมของทารกแรกเกิดอาจจะมีลักษณะนูน และผลิตน้ำนมจำนวนน้อยๆออกมาได้เรียกว่า “witch’s milk” ปรากฏการณ์นี้พบได้ทั้งในทารกเพศชายและหญิง เกิดจากการกระตุ้นต่อมน้ำนมของทารกโดยฮอร์โมนที่ผลิตจากรก การผลิตน้ำนมในช่วงนี้จะค่อยๆหมดไปภายในช่วงเวลา 3-4 สัปดาห์หลังคลอด ในช่วงวัยเด็กเต้านมจะเจริญเติบโตไปพร้อมๆกับร่างกายส่วนอื่นๆ
Pubertal development
ขบวนการเจริญพัฒนาของเต้านมแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1 .Organogenesis : การเจริญของท่อ( duct) และกลีบต่อมนม (lobule) เริ่มก่อนเข้าวัยสาวและต่อเนื่องไปตลอดวัยสาว ทำให้มีเนื้อต่อมนม (breast parenchyma) ที่ล้อมรอบด้วยไขมัน (fat pad)
2.Milk production :การสร้างน้ำนม
ช่วงก่อนวัยสาวเมื่ออายุ10-12 ปี แขนงของท่อน้ำนมจะยืดยาวออกไป มีกิ่งก้านแตกออกไปเป็นแขนงย่อยๆจาก 1 แตกเป็น 2 แขนง หรือ แตกออกข้างๆจากแขนงเดิม หลังจากมีประจำเดือนได้ 1 -2 ปีจะเริ่มเกิดตุ่มต่อมน้ำนม (alveolar bud) ที่จะเจริญไปเป็นส่วนต่อมที่ผลิตน้ำนม
Anatomic location
เต้านมวางอยู่บน superficial fascia ระหว่างซี่โครงซี่ที่ 2 กับ intercostal cartilage ที่ 6 ความหนาที่ส่วนกลาง 5-7 ซม. เมื่อเข้าวัยสาวเต้านมของเด็กหญิงจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงขนาดผู้ใหญ่ ข้างซ้ายมักมีขนาดใหญ่กว่าข้างขวาเล็กน้อย ในหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์เต้านมจะหนักประมาณ 200 กรัม เมื่อตั้งครรภ์เต้านมขยายขนาดจนเมื่อใกล้คลอดจะมีน้ำหนักประมาณ 400-600 กรัม ระหว่างให้นมแม่เต้านมหนักประมาณ 600-800 กรัม รูปร่างของเต้านมก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นกับเชื้อชาติ กรรมพันธุ์ และ อาหาร ในช่วงวัยรุ่นเต้านมจะมีลักษณะเป็นทรงกรวยหรือรูป dome ต่อมาจะค่อยๆกลายเป็นรูปครึ่งทรงกลมมากขึ้น และห้อยย้อยในช่วงอายุมาก
เนื้อเยื่อต่อมนมจะยื่นเข้าไปในบริเวณของรักแร้บ้าง เรียกว่า “tail of Spence” ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนนี้ในระยะให้นมแม่จะมีการผลิตน้ำนมด้วยจึงอาจจะมีอาการคัดตึงได้เหมือนส่วนอื่นๆของเต้านม แต่จะมีการระบายน้ำนมออกได้ทางท่อน้ำนมที่ติดต่อกับส่วนกลาง ในหญิงบางคนจะมีเนื้อเยื่อเต้านมเล็กๆงอกลงไปสู่ชั้นกล้ามเนื้อข้างล่าง ทำให้มีอาการปวดไปถึงบริเวณนั้นได้เวลาเต้านมคัด
เต้านมจะมีเป็นคู่เสมอ ทารกในครรภ์ช่วงอายุ 5 สัปดาห์จะมีเส้น “ milk line” ที่เป็นแนวเนื้อเยื่อที่พาดผ่านจากรักแร้ลงไปถึงบริเวณขาหนีบ เส้นนี้ในบริเวณอกจะนูนขึ้นมาเป็นสัน ส่วนอื่นๆของเส้นจะหดตัวหายไป
ความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด
Hypermastia พบได้ 2-6% ของผู้หญิง คือการมีเต้านมเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อบนเส้น milk line หดหายไปไม่หมด จึงพบหัวนมหรือเนื้อเต้านมได้ตามที่ตั้งของ milk line นี้
Symmastia คือการที่เต้านมสองข้างมีเนื้อเยื่อเชื่อมเข้าด้วยกันตรงกลาง มักพบว่ามีเต้านมใหญ่ด้วย
Amastia การไม่มีเต้านมที่เป็นมาแต่กำเนิด พบได้น้อยมาก
Polythelia การมีหัวนมจำนวนมากกว่าปกติ
Poland syndrome ไม่มีกล้ามเนื้อหน้าอกและ เต้านมข้างใดข้างหนึ่งพัฒนาไม่เต็มที่ พบว่า 92%ของหญิงที่กล้ามเนื้อหน้าอกผิดปกติ จะมีเต้านมที่ปกติ
Figure 2-6 Sites of supernumerary nipples along milk line. Ectopic nipples, areolae, or breast tissue can develop from groin to axilla and upper inner arm. They can lactate or undergo malignant change.
(Modified from Weatherly-White RCA: Plastic Surgery of the Female Breast, Hagerstown, Md, 1980, Harper & Row.)
ความผิดปกติที่พบภายหลัง (acquired abnormalities) : ที่พบบ่อยที่สุดคือ การใส่ท่อระบายที่ทรวงอกในทารกคลอดก่อนกำหนด ทำให้ผนังหน้าอกถูกกระทบกระเทือน การ biopsy ชิ้นเนื้อบริเวณหน้าอกในเด็กหญิง แผลไฟไหม้ที่หน้าอก อาจทำให้เกิดแผลเป็น และเต้านมผิดปกติไปได้ แต่ความผิดปกติต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ขัดขวางการให้นมแม่แต่อย่างใด
Corpus Mammae ( เนื้อเต้านม)
เต้านมเป็นอวัยวะที่เกิดจาก ต่อมย่อยหลายๆต่อมมารวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ เต้านมผ่านขั้นตอนพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงหลายขั้น กลุ่มเนื้อเยื่อในเนื้อเต้านม จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ parenchyma และ stroma
Parenchyma ประกอบด้วย duct ,lobe, lobule และ alveolus ( พหูพจน์ คือ alveoli)
duct คือ ท่อน้ำนม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มม. Lobe คือกลีบที่เรียงกระจายคล้ายซี่ล้อเกวียนออกไปรอบๆหัวนมมีจำนวน 15 – 25 กลีบ แต่ละกลีบแบ่งออกเป็นกลีบย่อย (lobule) 20-40 อัน และ แต่ละกลีบย่อยก็แบ่งออกเป็น alveoli 10-100 alveoli alveoli คือส่วนที่ผลิตน้ำนม
Stroma ประกอบด้วย connective tissue, เนื้อเยื่อไขมัน หลอดเลือด เส้นประสาท และ ระบบน้ำเหลือง (lymphatics)
เนื้อเยื่อเต้านมประกอบด้วยท่อและต่อมที่ฝังตัวอยู่ในไขมัน เนื้อเยื่อไขมันของเต้านมมีความสำคัญต่อการงอกและพัฒนาเซลล์ โดยเป็นพื้นที่ให้ท่อน้ำนมยืดยาวออกไปอย่างเป็นระเบียบ และรองรับการพัฒนาไปเป็นต่อมผลิตน้ำนม แต่ละกลีบของเต้านมจะมีเนื้อเยื่อแบ่งกั้นเป็นสัดส่วน ผนังกั้นเหล่านี้จะไปติดยึดกับผิวหนัง alveoli แต่ละอันเปิดสู่ lactiferous duct ซึ่งจะนำไปสู่ท่อที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ก่อนที่ท่อเหล่านี้จะเปิดออกสู่หัวนม จะมีรอยคอดเล็กน้อย
Nipple and areola( หัวนมและลานนม)
ผิวหนังที่ปกคลุมเต้านมอยู่จะบาง และค่อยข้างยืดหยุ่น มีขน ต่อมไขมัน และ ต่อมเหงื่อ ส่วนหัวนม(papilla mammae) เป็นบริเวณที่นูนขึ้นไปเป็นรูปกรวย อยู่ตรงกลางลานนม ประมาณช่อง intercostal ที่4 ทั้งหัวนมและลานนมจะมีความยืดหยุ่นมาก โดยทั่วไปหัวนมจะมี ท่อน้ำนม (milk duct) เฉลี่ย 23-27 ท่อ ( range 11-48) ต่อมผลิตน้ำนมแต่ละต่อมจะมาเปิดสู่หัวนมโดยรูเปิดที่แยกจากกัน หัวนมมีfiber ของกล้ามเนื้อเรียบ และมีปลายประสาทรับสัมผัสจำนวนมาก มี ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ แต่ไม่มีขน
ข้อมูลที่ศึกษาจากเต้านมที่ถูกผ่าตัดออกมาเพราะเป็นมะเร็งในหญิงสาวพบว่า จำนวนท่อน้ำนมในหัวนมโดยเฉลี่ย 25-27 ท่อ มีจำนวนมากกว่ารูเปิดที่เห็นบนผิวหัวนม ( 6-8 รู) จากmodel สามมิติของหัวนมแสดงให้เห็นท่อน้ำนม 3 ชนิด คือ
Type A (7 ท่อ) : เป็นท่อที่รูยังคงใหญ่อยู่จนมาเปิดถึงผิวหนัง
Type B ( 20 ท่อ) : รูจะตีบแคบลงมากจนกลายเป็นรูเล็กๆเมื่อใกล้ถึงผิวหนังที่ปลายหัวนม
Type C : เป็นส่วนน้อยของท่อ ที่จะขึ้นมาที่รอบๆฐานของหัวนม
การศึกษาโดย Rusby et al โดยใช้เทคนิค 3 มิติ และแยงเข้าไปในรูท่อ (canalization of the ducts) พบว่า ท่อที่มามัดรวมกันตรงกลางจะมีรอยคอดเข้าไป (waist) เมื่อท่อเข้าสู่เนื้อเต้านม จากตัวอย่างเต้า 1 เต้า พบว่ามีท่อ 29 ท่อจากรูเปิด 15 รู ที่ระดับผิวหนัง ท่อจะแคบ แต่จะใหญ่ขึ้นเมื่อลงลึกไปในหัวนม หลายๆท่อจะมีรูเปิดอันเดียวกัน ยืนยันว่าจำนวนท่อและรูเปิดจะไม่เท่ากัน
Areola mammae หรือ areola เป็นบริเวณกลมๆสีเข้มรอบหัวนมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 15-16 มิลลิเมตร แต่ขนาดจะขยายใหญ่ขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และให้นม สีที่เข้มเนื่องจากมีเม็ดสีกระจายอยู่ในผิวหนังบริเวณนั้น
สีจะมีตั้งแต่สีชมพูอ่อนๆจนถึงสีน้ำตาลเข้ม การที่ areola มีสีเข้มเช่นนี้เชื่อว่า น่าจะเป็นจุดสนใจให้กับทารกแรกเกิดเพื่อจะมองเห็นได้ง่ายและอ้าปากงับเข้าไปถึงลานนมเพื่อให้ได้นม ไม่ใช่งับเฉพาะตรงหัวนม
บริเวณ areola จะมี Montgomery gland ซึ่งจะขยายขนาดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และให้นม จะดูเหมือนตุ่มสิวเล็กๆ ผลิตสารที่หล่อลื่นและปกป้องหัวนมและลานนม มีน้ำนมปริมาณเล็กน้อยหลั่งจากตุ่มเหล่านี้ เพราะพบว่ามีท่อน้ำนมจากต่อมน้ำนมที่อยู่ข้างใต้มาเปิดสู่ท่อต่อมไขมัน และบางท่อเปิดที่ปลายตุ่ม
ที่ผิวหนังบริเวณหัวนมและลานนม มีปลายประสาทเส้นแขนงมากมาย และ มีการเชื่อมส่วนปลายของเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำฝอย (arteriovenous anastomosis) ทำให้หัวนมมีการตั้งชันขึ้นได้เมื่อมีเลือดไหลเวียนเข้ามา
สรุป หัวนมแต่ละข้างมีท่อน้ำนมโดยเฉลี่ย 23 ท่อ ปลายท่อจะเปิดเป็นรูเล็กๆที่ปลายหัวนม ภายในหัวนมท่อน้ำนมอาจจะมารวมกันก่อนจึงทำให้จำนวนรูเปิดน้อยกว่าจำนวนท่อ จากการทำultrasound เต้านมข้างหนึ่งขณะที่ลูกดูดนมจากเต้าอีกข้างหนึ่ง พบว่า ระบบท่อน้ำนมจะมีความยืดหยุ่นมาก ทำให้มีการขยายขนาดรูของท่อน้ำนมอย่างฉับพลันในขณะที่มีการผลิตน้ำนมและมี let-down reflex ซึ่งข้อมูลนี้จะแตกต่างกับที่เคยได้รับการสอนกันมาแต่ก่อน ที่มีการศึกษาเต้านมหลังจากหญิงเสียชีวิต โดยการฉีดของเหลวเข้าไปให้แข็งตัวในท่อน้ำนม แรงอัดจากการฉีดจึงไปทำให้ท่อโป่งออกไป และเรียกว่า lactiferous sinus ปัจจุบันไม่พบว่ามี sinus อยู่ใต้หัวนมและลานนมอีกต่อไปแล้ว
กล้ามเนื้อเรียบของหัวนม ชั้นในจะเรียงตัวตามความยาวของหัวนม ส่วนชั้นนอกจะเรียงเป็นcircular and radial จึงไม่ขัดขวางท่อน้ำนม แต่จะช่วยรูดปิดรูท่อน้ำนม นอกจากนี้ระบบกล้ามเนื้อของหัวนมและลานนมยังทำให้พื้นที่ผิวลานนมหดตัว หัวนมตั้งชัน และช่วยไล่น้ำนมที่อยู่ในท่อน้ำนมในขณะที่ลูกกำลังดูดด้วย
เนื้อเยื่อเต้านมถูกห่อหุ้มโดย superficial pectoral fascia มี ligaments of Cooper ยึดติดกับผิวหนังและ fascia ที่อยู่ข้างใต้ เต้านมจึงคงรูปร่างอยู่ได้ด้วย Cooper’s ligament
Ramsey et al ได้ศึกษาหญิงให้นม 21 คนโดยใช้ ultrasound วัดขนาดเนื้อต่อมนมเทียบกับเนื้อเยื่อไขมันในเต้านมพบว่า อัตราส่วนมีความหลากหลายตั้งแต่ 50%-100% พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าขนาดของเต้านมไม่ได้บ่งบอกถึงความสามารถในการผลิตน้ำนม
Mature Mammary Gland
การเจริญพัฒนาของเต้านม เป็นขบวนการที่เนื้อเยื่อส่วน parenchyma( ที่จะเจริญไปเป็นท่อน้ำนมและต่อมผลิตนม) ในเต้านมรุกคืบพื้นที่ส่วน stroma ที่เป็นไขมัน แผ่ขยายส่วนท่อที่ส่วนปลายเป็นรูปกระบอง และมีการเปลี่ยนแปลงเซลล์ไปเรื่อยๆจนกลายเป็นตุ่ม alveola การพัฒนาจะมีมากที่สุดเมื่อหญิงสาวมีอายุถึง 20 ปี
เต้านมจะประกอบด้วยกลีบที่ขอบเขตไม่เรียบ 15-25 กลีบ แต่ละกลีบมีท่อ lactiferous duct ที่บุด้วยเซลล์ชนิด stratified squamous ท่อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มม. เปิดที่หัวนมด้วยรูขนาด 0.4-0.7 มม. แต่ละกลีบมีกลีบย่อย ( lobule)หลายชั้น ส่วนเล็กสุดจะยืดยาวและโป่งออกไปเป็นถุง เรียก ว่า alveoli
ท่อจะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือเซลล์บุผิวด้านใน และ myoepithelial cell บุผิวด้านนอก เซลล์ทั้งสองชั้นตั้งอยู่บน basement membrane และมีการติดต่อกันผ่านทางระบบ cytochemical intermediates
ส่วนผลิตน้ำนม คือ alveoli และ alveolar duct จะมีเซลล์ชนิดลูกบาศก์ (cuboidal) หรือ low columnar เป็น secretory cell วางบน basement membrane และมี myoepithelial cell ที่สานกันเป็นตาข่ายหลวมๆล้อมรอบ alveoli ไว้ เซลล์ myoepithelium นี้ จะตอบสนองต่อการกระตุ้นโดย Oxytocin
Figure 3-17 Fundamental mammary unit at lactation, with arrangement of secretory alveoli, myoepithelial cells, and vasculature. Secretory alveolar epithelium is monolayered, and epithelial lining of milk ducts consists of two layers. Between bases of glandular epithelial cells and tunica propria, starlike myoepithelial mammary cells surround alveolus in basketlike arrangement.
(Modified from Vorherr H: The Breast: Morphology, Physiology and Lactation, New York, 1974, Academic Press.)
Lactating Mammary Gland
ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกมีการเติบโตแตกแขนงของระบบท่อน้ำนมเข้าไปในเนื้อเยื่อไขมันอย่างรวดเร็ว และค่อยๆช้าลง ในไตรมาศสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เต้านมใหญ่ขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเซลล์ ให้กลายเป็น alveolar เซลล์ที่ผลิตน้ำนมได้ alveoli เพิ่มทั้งจำนวน และขนาดเนื่องจากเริ่มมี colostrum ผลิตออกมาบ้าง
แต่เดิมconcept เรื่องการหลั่งน้ำนมของต่อมน้ำนมบ่งบอกว่า การหลั่งเป็นแบบ “ Apocrine secretion” คือ ขบวนการที่เมื่อเซลล์หลั่งสารออกไปแล้ว บางส่วนของเซลล์ก็จะสลายออกไปด้วยพร้อมๆกัน เห็นได้จากการที่เซลล์ผลิตน้ำนมหลั่งไขมัน จะเห็นหยดกลมของไขมันยื่นออกไปนอกเซลล์ก่อน ต่อมาที่ขั้วจะขอดเข้าหากันปล่อยไขมันและบางส่วนของเซลล์ออกไปในท่อ จากการศึกษาอย่างละเอียดขึ้นด้วย electron microscope พบว่าเซลล์มีการผลิตและปล่อยสารออกไปด้วยกลไกที่ต่างกัน 2 แบบ คือ
- ส่วนโปรตีนของน้ำนม จะผลิตและปล่อยโปรตีนออกไปเหมือนกับต่อมอื่นๆที่ผลิตโปรตีน (merocrine gland)คือสารที่หลั่งผ่านออกไปทางส่วนบนยอดของเซลล์โดยไม่มีการสูญเสีย cytoplasm
- ส่วนไขมันของน้ำนม จะมี lipid droplet ล่องลอยอย่างอิสระใน cytoplasm หยดเล็กๆจะใหญ่ขึ้นและเคลื่อนไปที่ส่วนบนยอดของเซลล์ หยดไขมันจะยื่นออกไปในช่องว่างนอกเซลล์โดยมีส่วนบางๆของcytoplasm คลุมไว้ ต่อมาก็ถูกขับออกไปโดยมีส่วน cell membrane และ cytoplasm บางๆหลุดไปด้วย
Figure 3-22 Apocrine secretory mechanism for lipids, proteins, and lactose in milk.
Reference
Breast Feeding : a Guide to the Medical Profession 7
th edition 2011 Ruth A. Lawrence, MD
Chapter 2